เมนู

อื่นจาก 3 วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชน
เหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน. วัตถุที่ท่านกล่าวใน 3 วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่น
หวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมด
ราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของ ๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง 2 ย่อมถึง
ความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ 2 อย่างนี้ มีความสำคัญ
ว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหนไว้ 1 ถือเอาด้วยไถยจิต 1; เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่กล่าวอนาบัติไว้ ฉะนั้นแล.

[

อรรถาธิบายในอนาปัตติวาร

]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความต่างแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจ
แห่งวัตถุและด้วยอำนาจแห่งจิต อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติ
จึงตรัสดำว่า อนาปตฺติ สกสญฺญิสฺส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกสญฺญิสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีความ
สำคัญว่าเป็นของตน คือ ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภัณฑะนี้เป็นของเรา เมื่อ
ถือเอาแม้ซึ่งภัณฑะของผู้อื่น ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอา, ควรให้ทรัพย์
ที่ตนถือเอาแล้วนั้นคืน ถ้าถูกพวกเจ้าของทวงว่า จงให้. เธอไม่ยอมคืนให้
เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทรัพย์เหล่านั้นทอดธุระ.
บทว่า วิสฺสาสคฺคาเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาด้วย
วิสาสะ. แต่ควรรู้ลักษณะแห่งการถือเอาด้วยความวิสาสะ โดยสูตร*นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เอาอนุญาตให้ถือวิสาสะ แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์
5 คือ เคยเห็นกันมา 1 เคยคบกันมา 1 เคยบอกอนุญาตกันไว้ 1 ยังมี
ชีวิตอยู่ 1 รู้ว่าเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ 1.
//* วิ. มหา 5/218.